know your skin
Home ] [ know your skin ] Sun and skin ] skin beauty ] common  skin problems ] skin links ] contact us ]

 

Home
know your skin
Sun and skin
skin beauty
common  skin problems
skin links
contact us

 

skin facts
skin functions
skin structures
 

 

skin facts

ผิวหนังไม่ใช่เป็นเพียงแผ่นหุ้มห่อภายนอกร่างกายเท่านั้น แต่เป็นอวัยวะหนึ่งที่มีชีวิต มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และมีการทํางานที่น่ามหัศจรรย์
ผิวหนังมีขนาดประมาณ ๒ เมตร เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดของร่างกายเรา
ผิวหนังมีความหนาเพียงประมาณ ๔ มิลลิเมตร ตรงตําแหน่งที่หนาที่สุด คือฝ่าเท้า
และมีความหนาเพียงประมาณ ๐.๔ มิลลิเมตร ตรงตำแหน่งที่บางที่สุด คือ หนังตา
ผิวหนังมีนํ้าหนักประมาณ ๗ เปอร์เซนต์ของนํ้าหนักร่างกาย คนที่หนัก ๕๐ กิโลกรัมจะมีนํ้าหนักผิวหนังประมาณ ๓ กิโลกรัมครึ่ง

skin functions

ผิวหนังช่วยปกป้องร่างกายจากสิ่งอันตรายภายนอก เช่น แบคทีเรีย ไวรัส สารเคมี แสงอุลตราไวโอเลต
ผิวหนังช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ จะผลิตเหงื่อเพื่อระบายความร้อน
เมื่ออากาศหนาวจะมีการหดตัวของเส้นเลือดฝอยส่วนปลายบริเวณแขนขา เพื่อรักษาความร้อนไว้ภายในร่างกาย
ผิวหนังเป็นเสมือนโรงงานผลิตวิตามินดี
ซึ่งมีความจําเป็นต่อความแข็งแรงของกระดูก โดยเปลี่ยนสารสเตียรอยด์ที่ผิวหนังเป็นวิตามินดีเมื่อร่างกายถูกแสงแดด
ผิวหนังมีเซลล์ประสาทรับความรู้สึก ช่วยให้ร่างกายหลบหลีกจากอันตรายภายนอก เช่นเวลามือไปถูกความร้อน เราจะรับรู้และหดมือกลับอย่างรวดเร็ว

 

skin structures

ผิวหนังมีชีวิตและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
โครงสร้างและการทํางานของผิวหนังเป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างหนึ่งของร่างกายมนุษย์

ผิวหนังแบ่งง่ายๆเป็น ๓ ชั้น ชั้นบนสุดเรียก หนังกําพร้า(epidermis)เป็นชั้นที่เรามองเห็น เวลามองผิวหนังของเรา
ชั้นกลางเรียก หนังแท้ (dermis)
ชั้นล่างสุดเป็นชั้นใต้ผิวหนัง (subcutaneous tissue) 

skin_anatomy.jpg (47756 bytes)
คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพขยายของผิวหนัง

epidermis

เซลล์ผิวหนังในชั้นนี้เรียงตัวกันเป็นชั้นๆ เซลล์ใหม่ถูกสร้างจากชั้นล่างสุดจะเคลื่อนตัวขึ้นสู่ชั้นบนเรื่อยๆ ระหว่างที่เคลื่อนตัวขึ้นสู่ชั้นบน จะมีการเปลี่ยนรูปร่างจากเซลล์กลมมีชีวิตในชั้นล่างสุด กลายเป็นเซลล์แบนที่ตายแล้วเรียงอัดกันแน่นในชั้นบนสุด ที่เราเรียกว่าชั้น horny layer  ประกอบด้วยโปรตีนชนิดหนึ่ง เรียกkeratin  
ที่คล้ายคลึงกับที่พบในเขาของสัตว์ เล็บและผมของคนเรา    การเรียงตัวอัดกันแน่นนี้เองที่ช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายเสียนํ้าทางผิวหนัง และป้องกันไม่ให้สารจากภายนอก เช่น แบคทีเรียหรือไวรัส เข้าสู่ร่างกาย เซลล์ชั้น horny layer นี้จะมีการหลุดลอกออกไปเองและถูกแทนที่โดยเซลล์ใหม่จากชั้นล่าง ที่เคลื่อนตัวขึ้นมาแทนที่
ทําไมคนเราจึงมีสีผิวแตกต่างกัน
เนื่องจากการทํางานของเซลล์ชนิดหนึ่งในชั้นล่างสุดของ epidermis ชื่อ melanocyte เซลล์นี้จะผลิตเม็ดสี(melanin) ทําให้เกิดเป็นสีผิว คนทุกคนมีจํานวนเซลล์นี้เท่าๆกัน ต่างกันที่จํานวนเม็ดสีที่ถูกผลิตขึ้น นั่นคือ ถ้าคุณมีผิวคลํ้ากว่าเพื่อนของคุณ แสดงว่าเซลล์ melanocyte
ของคุณขยันทํางานผลิตเม็ดสีมากกว่าเซลล์melanocyte
ของเพื่อนคุณนั่นเอง แต่ร่างกายไม่ได้ต้องการเม็ดสีเพื่อให้เกิดสีผิว เม็ดสีช่วยป้องกันเซลล์ของร่างกายจาก อันตรายจากแสงอุลตราไวโอเลตจากแสงแดด และยังทําหน้าที่ช่วยลดจํานวนอนุมูลอิสระ  (free radical) ซึ่งเป็นอันตรายต่อเซลล์ด้วย
 

dermis

หนังแท้ประกอบด้วยโปรตีนหลัก ๒ ชนิด คือ เนื้อเยื่อคอลลาเจน (collagen) ประมาณ๙๕เปอร์เซนต์ และเนื้อเยื่ออีลาสติค(elastic) ประมาณ๓เปอร์เซนต์ คอลลาเจนช่วยให้ความแข็งแรงแก่ผิวหนัง และช่วยในการซ่อมแซมผิวหนังที่บาดเจ็บ ซึ่งถ้าสร้างในปริมาณมากก็เกิดเป็นแผลเป็นนั่นเอง
ถ้าคุณลองจับผิวหนังของคุณดึงขึ้นมา ความแข็งแรงที่รู้สึก
เป็นผลของคอลลาเจน ส่วนความยืดหยุ่นสามารถหดตัวกลับสู่สภาพเดิมหลังจากถูกดึง
เป็นผลของอีลาสติก 
ในชั้นหนังแท้ยังเป็นที่อยู่ของหลอดเลือด เซลล์ประสาทรับความรู้สึก ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ ผมและขน
ต่อมไขมัน (sebaceous gland) ผลิตไขมันชนิดหนึ่ง (sebum) เพื่อหล่อลื่นและเคลือบผิวหนัง คล้ายเป็น moisturizer ตามธรรมชาติ
ต่อมไขมันมีมากบริเวณใบหน้าแถวหน้าผากและจมูก (T-zone)
ต่อมเหงื่อ (sweat gland) ทําหน้าที่ผลิตเหงื่อ ช่วยระบายความร้อน และรักษาสมดุลย์ของเกลือแร่
รูขุมขน (pore)เป็นรูเปิดของเส้นผมและขน  ในขณะเดียวกันก็เป็นทางออกของ sebum และเหงื่อที่ถูกผลิตขึ้นด้วย
รูขุมขนเป็นเพียงรูเปิดที่ไม่มีกลัามเนื้อช่วยในการหดตัว
หรือขยายตัวดังเช่นในหลอดเลือด ดังนั้นขนาดของรูขุมขนจึงค่อนข้างคงที่
และขึ้นกับพันธุกรรมของแต่ละบุคคล 
 

subcutaneous tissue

ประกอบด้วยเซลล์ไขมันเป็นหลัก
และแน่นอนว่าความหนาขึ้นกับปริมาณไขมันของแต่ละบุคคล ชั้นนี้ทําหน้าที่คล้ายฉนวนกันการความร้อน และเปรียบคล้ายกับกันชนป้องกันอันตรายจากการกระทบกระแทกจากภายนอก
cellulite
คือไขมันที่มีเนื้อเยื่อคล้ายพังผืดแทรกอยู่ทําให้เกิดการดึงรั้งผิวหนัง เห็นเป็นลอนๆจากภายนอก
การเกิด celluliteไม่ขึ้นกับปริมาณของไขมันในร่างกาย คนผอมก็มี cellulite ได้
 

web address:http://thaiskin.tripod.com
email: thaiskin@doctor.com